7 ใน 10 ของแรงงานประมงไทยมีลักษณะของการเป็น"แรงงานบังคับ"
จากรายงานที่ของโครงการ UN-ACT หรือกรอบความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการค้ามนุษย์ ปี 2019 ได้ระบุว่ากว่าร้อยละ 71 ของชาวประมง มีงการบังคับใช้แรงงานอย่างน้อย 1 อย่างขึ้นไปอย่างเช่น การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ถูกเอาเปรียบ (40%) การหลอกลวงเกี่ยวกับงาน (37%) หรือถูกเก็บเอกสารส่วนตัว (33%)
ภาพถ่ายโดย: Luke Duggleby
เราคือผู้มีส่วนร่วมในการเลิกทาสยุคใหม่
และหยุดการเป็นแรงงานทาสบนทะเล
ป้องกันการค้ามนุษย์
LPN ได้ฝึกอบรมแรงงานและอาสาสมัครกว่าจำนวน 500 คนต่อปี เพื่อให้เข้าใจในเรื่องการข้ามแดนอย่างปลอดภัยและรวมไปถึงเรื่องสิทธิของแรงงาน และเรายังสามารถเข้าถึงแรงงานมากกว่า 500,000 คนผ่านโซเชียลมีเดีย เราได้ช่วยเหลือครอบครัวของแรงงานข้ามชาติโดยการทำลายวงจรความยากจนผ่านการเข้าถึงการศึกษา
ปฏิบัติการช่วยชีวิตลูกเรือ
LPN ได้รับคำร้องเรียนจำนวนมากเกี่ยวกับแรงงานประมงที่ถูกละเมิดสิทธิในประเทศอินโดนีเซีย ทั้งการขู่เข็ญบังคับใช้แรงงาน การใช้แรงงานเด็ก การกักขังหน่วงเหนี่ยว และรวมไปถึงการค้ามนุษย์ LPN จึงได้ทำปฏิบัติการช่วยเหลือชีวิตลูกเรือประมงที่เรียกว่า “Indonesia Operation” หรือ “ภารกิจอินโดนีเซีย” ซึ่งถูกบันทึกเอาไว้ในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Ghost Fleet ที่ออกฉายครั้งแรกในปี 2019
ด้วยความช่วยเหลือจากคุณ
แรงงานประมง 4,986 คน
หลุดพ้นจากการ
เป็นทาสบนทะเล
อะไรคือแรงงานทาสในสมัยนี้?
อิสรภาพในราคา 30,000 บาท
ถูกขังอยู่
ในคุกลอยน้ำ
ติดคุก
ตาย
รอดชีวิต
ตลาดค้ามนุษย์
มือสอง
25,000 ถึง 30,000 บาท คือจำนวนเงินที่นายหน้าค้ามนุษย์ได้รับเมื่อนำแรงงานหนึ่งคนเข้าไปส่งนายจ้าง แม้ว่าจะฟังดูน่ารังเกียจแต่กลับเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทำเงินมหาศาล
หลังจากถูกหลอกให้ไปทำงานบนเรือแรงงานประมงก็จะติดอยู่บนเรือที่ลอยอยู่กลางทะเล และไม่สามารถหนีไปไหนได้ และถูกบังคับให้ทำงาน คล้ายกับติดคุก
แม้ว่าแรงงานประมงจะสามารถหนีขึ้นฝั่งได้
แต่ก็มีขบวนการค้ามนุษย์อีกกลุ่มที่รออยู่บนฝั่ง
เพื่อจับกุมและขายพวกเขาอีกครั้งอยู่เสมอ ๆ
หากมีแรงงานคนไหนที่ไม่เชื่อฟัง พวกเขาจะถูกจับขังไว้ในกรงเหล็ก หรือทิ้งไว้ในเกาะร้างของประเทศอินโดนีเซียน และบางคนถูกฆ่าทันที มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่รอดชีวิตมาได้
LPN ช่วยให้ความหวังกับแรงงานประมงที่ถูกเอาเปรียบ
เพราะว่าจะมีคนช่วยเหลือพวกเขาเสมอ
“บริษัทไล่ล่าเราทั้งวันทั้งคืน”
- ภาพยนตร์ Ghost Fleet
เรื่องแบบนี้
เกิดขึ้นได้อย่างไร
เนื่องจากการจับสัตว์ทะเลมาเกินไปทำให้จำนวนสัตว์ทะเลและระบบนิเวศของอ่าวไทยเสียหายอย่างหนัก และไม่เพียงพออีกต่อไปที่จะหล่อเลี้ยงความต้องการอีกต่อไปจึงทำให้บริษัทอาหารทะเลที่ยังต้องการที่จะรักษาผลกำไรไว้จำเป็นต้องส่งเรือไปไกลจากอ่าวไทย
และเพราะสภาพการทำงานที่ยากลำบาก ห่างไกลจากบ้าน เนื่องจากออกไปในกลางมหาสมุทรของทะเลต่างประเทศ ทำให้เกิดสภาพการขาดแคลนแรงงานบนเรือประมงจำนวนมาก จึงต้องพึ่งพาขบวนการค้ามนุษย์ในการจัดหาแรงงานเพื่อนำมาใช้ในทำงานบนเรือ ซึ่งแรงงานบนเรือประมงเหล่านี้ก็ต้องทรมานทั้งจากสภาพการทำงานบนเรือที่เลวร้ายและออกทะเลติดต่อกันหลายปี
ด้วยเครือข่าย “สีเทา ๆ ” แบบนี้บวกกับความไม่ชัดเจนในการจัดหาแรงงานโดยใช้ระบบนายหน้า ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจอาหารทะเลทั้งหลายทั้งโรงงาน ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก บริษัท เจ้าหน้าที่รัฐ มีข้ออ้างในการปฏิเสธการรับผิดชอบหรือแม้กระทั่งการปฏิเสธการรับรู้
ด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นที่จะต้องเรียกร้องความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารทะเลนี้เพื่อที่จะหยุดการมีอยู่ของแรงงานทาส
คุณช่วยอะไรได้บ้าง
หากท่านต้องการ
ความช่วยเหลือ
แจ้งเรื่อง ขอความช่วยเหลือ หรือขอข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน
และการลงทะเบียนที่เกี่ยวข้องแรงงาน
สามารถติดต่อเราโดยตรงได้ทั้งภาษา ไทย เขมร ลาว และ พม่า