top of page
การทำงานของเรา
มาจากการปรับใช้
ประสบการณ์ตรงกว่า 15 ปี
ที่ทำงานร่วมกับ
แรงงานข้ามชาติ

LPN ทำงานเพื่อปกป้องสิทธิของแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดย LPN สนับสนุนเรื่องสิทธิในการักษาพยาบาล ความปลอดภัยในที่ทำงาน การเข้าถึงการศึกษา และบริการทางสังคม ซึ่งกว่า 15 ปีที่ผ่านมา พวกเราได้ค้นพบวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการปฎิบัติการช่วยเหลือแรงงาน สร้างเครือแรงงานที่เชื่อถือได้เพื่อคอยให้ข้อมูลและสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชนข้ามชาติสำหรับการเรียนรู้ สร้างกระบวนการปกป้องเด็กและผู้หญิง

และยังได้มีการผลิตและพัฒนาสื่อสำหรับแรงงานในภาษาของพวกเขาเอง


ครงการเหล่านี้ของเราประสบความสำเร็จได้เพราะเรานำเอาความต้องการของกลุ่มแรงงานเป็นหัวใจหลักในประเมินและปรับปรุงเแผนงานเป็นประจำในทุก ๆ ปีเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

บุกช่วยเหลือ
เหยื่อการค้ามนุษย์

ในปัจจุบันยัง LPN ยังคนได้รับการร้องขอความช่วยเหลืออยู่บ่อยครั้งจากเหยื่อของการค้ามนุษย์และแรงงานที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ งานของเราจึงเป็นการช่วยเหลือเหยื่อให้รอดพ้นจากสถานการณ์อันเลวร้ายไม่ว่าจะเป็นการบุกเข้าช่วยเหลือทั้งบนบกและในทะเล หรือการช่วยเหลือเหยื่อในการด้านฟื้นฟูจิตใจหลังถูกทำร้าย อย่างเช่น การให้ที่พักพิง ดูแลด้านจิตใจ และสนับสนุนทางกฏหมายเพื่อดำเนินคดีเรียกร้องค่าเสียหายและเอาผิด

การต่อสู้กับการละเมิดสิทธิของแรงงานข้ามชาติและการค้ามนุษย์ ถือได้ว่ายังต้องฝ่าฟันอีกมาก ดังนั้น LPN จึงทำงานหลายด้านทั้งการวิจัยเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและหาทางออก พัฒนาและสร้างสื่อการสอน รวมไปถึงการรณรงค์เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายจัดอบรมและสร้างความเข้าใจในเรื่องสิทธิของแรงงาน

สื่อสารและรณรงค์เกี่ยวกับ

สิทธิของแรงงานข้ามชาติ

ลูกหลายแรงงานข้ามชาติมักจะเป็น

กลุ่มแรก ๆ ที่เข้าไม่ถึงและหลุดออกจากระบบการศึกษาไทย ดังนั้นงานที่เราทำนี้จะเป็นความพยายามในการสร้างพื้นที่ให้กับกลุ่มลูกหลานแรงงานข้ามชาติที่จะได้เข้าถึงการศึกษาของรัฐไทย และด้วยการศึกษาจะช่วยทำให้พวกเขาสามารถปรับตัวให้เข้ากับประเทศไทยได้

ศูนย์การเรียนรู้สำหรับ
เยาวชนแรงงานข้ามชาติ

Raid & rescue

การบุกช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์

ปฏิบัติการช่วยชีวิตลูกเรือประมงในประเทศอินโดนีเซียน

​การทำงานเพื่อหยุดยั้งการขูดรีดและช่วยเหลือลูกเรือประมงในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซียกลายเป็นจุดเน้นของ LPN มาหลายปี โดยการทำงานเพื่อช่วยเหลือลูกเรือที่ถูกเอารัดเอาเปรียดในประเทศอินโดนีเซียนี้เกิดขึ้นมาจากการที่ LPN ได้รับรายงานจากลูกเรือกว่า 128 ครั้งที่บอกเล่าถึงการถูกทำร้ายหลังจากที่ออกจากน่านน้ำไทยเพื่อไปทำงานยังน่านน้ำในประเทศอินโดนีเซีย ทำให้ปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือลูกเรือประมงกว่า 12 ครั้งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2014 ถึง 2016 ทำให้เราสามารถช่วยเหลือลูกเรือประมงที่ถูกทิ้งอยู่ในเกาะอัมบนและเบญจิน่าได้กว่า 2,000 คน ซึ่งการช่วยเหลือครั้งนี้ได้ทำให้สังคมโลกมองตระหนักถึงปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย โดยในปฏิบัติการนี้ LPN ยังได้ทำงานร่วมกับหลายภาคส่วน อย่างสื่อมวลชน องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) และรัฐบาลประเทศอินโดนีเซีย จากการทำงานร่วมกันนี้เราได้เผยให้เห็นโครงข่ายการค้ามนุษย์ขนาดใหญ่ที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน


การบุกช่วยเหลือแรงงานในพื้นที่โรงงาน


LPN ยังได้สร้างความตระหนักในเรื่องการเอารัดเอาเปรียบแรงงานด้วยการทำงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยตำรวจในการวางแผนและบุกช่วยเหลือแรงงานที่ถูกเอาเปรียบในโรงงานที่เป็นพื้นที่ปิดอย่างโรงงานแปรรูปกุ้ง และได้ช่วยเหลือแรงงานพม่ากว่า 66 คนที่ถูกกักขังและถูกบังคับให้ใช้แรงงาน

ศูนย์พักพิงชั่วคราวและระยะยาว

สำนักงานหลักของเราตั้งอยู่ในตำบลมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร โดยได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์พักพิงให้กับแรงงานที่ตกเป็นเหยื่อทั้งในระยะยาวและชั่วคราว โดยในศูนย์พักพิงนี้คือสถานที่ ๆ เหยื่อจากความรุนแรงอย่างผู้หญิง เด็ก และแรงงาน ที่กำลังอยู่ในกระบวนการด้านเอกสาร ด้านคดีความ มาพักพิงเพื่อรอคอยหรือกลุ่มคนที่กำลังอยู่ในระหว่างการฟ้องเรียกค่าเสียหายและค่าชดเชยจากนายจ้างซึ่งในกลุ่มนี้มักจะต้องการที่พักอาศัยนานกว่ากลุ่มแรกเพราะกระบวนการทางกฏหมายนั้นจะใช้เวลาอย่างน้อย 5 เดือนถึงจะเสร็จสิ้น


ในขณะนี้เรากำลังพยายามที่จะสร้างศูนย์พักพิงสำหรับแรงงานประมงเพื่อที่จะเป็นที่พึ่ง เป็นพื้นที่ปลอดภัย และให้คำปรึกษาและดูแลด้านจิตใจหลังจากผ่านเหตุการณ์ร้าย ๆ นอกจากนั้นยังออกแบบให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่  ๆ แรงงานประมงได้มาพักคอยในระหว่างการดำเนินคดี หรือเรียนรู้ทักษะการทำงานใหม่ ๆ โดยกิจกรรมทั้งหมดมีเป้าหมายเพื่อให้บรรดาลูกเรือประมงสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้ ในขณะนี้เรากำลังพยายามรวบรวมและระดมทุนเพื่อใช้เป็นต้นทุนในการสร้างก่อสร้าง บำรุงดูแล และใช้จ่ายสำหรับกิจกรรมที่เกิดขึ้น

เครื่อข่ายหมาเฝ้าบ้านและเครือข่ายข้อมูล


​LPN รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ทำงาน สภาพการทำงาน จากการแจ้งเข้ามาของทั้งตัวแรงงานเองและเครือข่ายในชุมชนแรงงาน LPN มักจะเป็นคนแรก ๆ ที่กลุ่มแรงงานไว้วางใจในการร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงาน และหลังจากได้รับเรื่องมาแล้ว LPN ก็จะจัดการดำเนินงานต่อโดยการทำงานร่วมกับรัฐบาลและผู้รักษาทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำงานกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)  โดยผลจากการทำงานในลักษณะเครือข่ายของเราสามารถเห็นได้ใน รายงานการติดตามและการดำเนินงานต่อต้านการค้ามนุษย์ หรือ Trafficking in Persons (TIP) report ที่ตัวอย่างของการละเมิดสิทธิในรายงานกว่า 4 ใน 6 กรณี คือกรณีที่ LPN ส่งต่อไปยังรัฐ


เครือข่ายอาสาสมัครแรงงานที่คอยช่วยเฝ้าระวังให้กับ LPN คือกลุ่มของแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการฝึกฝนให้ช่วยสังเกตุการณ์และคอยรายงานหากพบเห็นการทำร้ายร่างกาย หรือให้คำแนะนำ รวมไปถึงรายงานกลับมายัง LPN ทั้งในพื้นที่ของการทำงานและพื้นที่ชุมชน ในปัจจุบันเครือข่ายแรงงานที่ทำงานร่วมกับเรายังมีอยู่เฉพาะกับในกลุ่มของแรงงานข้ามชาติสัญชาติเมียนมา ดังนั้นเราจึงมีแผนที่จะสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังของทั้งแรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชา ลาว และไทย ซึ่งในปัจจุบันสมาชิกในเครือข่ายแรงงานข้ามชาติของเรามีกว่า 100 คน แบ่งออกเป็นกว่า 20 กลุ่มซึ่งจะกระจายกันอยู่ในจังหวัดที่มีแรงงานข้ามชาติอยู่จำนวนมากอย่าง สมุทรปราการ สมุทรสาคร ตราด และระยอง และสมาชิกในเครือข่ายแรงงานของเราในจังหวัดสมุทรสาครจะมีการพบปะกันในทุก ๆ วันอาทิตย์เพื่อประชุมพูดคุยกันในประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจหรือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มแรงงานที่ปรับเปลี่ยนไป และเรายังมีการฝึกฝนกลุ่มเครือข่ายแรงงานเพื่อสร้างความแข็งแรงของเครือข่ายอีกด้วย

Labour Rights
การรณรงค์สนับสนุนสิทธิแรงงานและการสื่อสาร

การรณรงค์กับภาครัฐและภาคประชาสังคม

ประเทศไทยมีชื่อเสียงอย่างมากในด้านลบจากปัญหาการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นจากความล้มเหลวของกระบวนการตรวจสอบ ในช่วงปีที่ผ่านมาเราเริ่มเห็นความพยายามในการพลักดันเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้หลักจากประเทศไทยล้มเหลวในการควบคุมมาตารฐานให้เทียบเท่าระดับสากล แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายภายใต้การบริหารของบารัค โอบาม่า แต่ก็ยากที่จะทำให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงได้ ในขณะเดียวกันได้มีแรงกดดันจากภาคธุรกิจโดยเฉพาะกับภาคธุรกิจที่คำนึงถึงหลักความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบรรษัท (Corporate social responsibility) และเหล่าบรรดาเซฟทำอาหารก็ได้รวมตัวกันภายใต้ Seafood Taskforce ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของภาคธุรกิจที่ต้องการสร้างระบบติดตามและตรวจสอบ รวมไปถึงหลักการในการปฎิบัติงานเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาคในงานประมง ซึ่ง LPN เองนั้นก็เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนั้นต้องมาจากภาคประชาสังคม

ด้วยเหตุผลที่เชื่อในการเปลี่ยนแปลงที่มาจากภาคประชาสังคม ทำให้เราเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรวมตัวของภาคประชาสังคมที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2016 ด้วยเป้าหมายและภารกิจที่ต้องการกำจัดการเป็นทาสในสมัยใหม่ให้หมดไป และการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) ให้หมดไปจากห่วงโซ่การผลิตของอาหารทะเลไทย และภายใต้การทำงานที่นำโดย Oxfam กลุ่มภาคประชาสังคมได้รวบรวม 12 องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคมให้มาร่วมแบ่งปันแนวทางปฏิบัติงาน สร้างแผนงาน และร่วมกันทำงานกับภาครัฐไทยและผู้ซื้อและผู้ขายอาหารทะเล

การทำงานของ LPN บ่อยครั้งจะเป็นการทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติอย่างเช่นกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน และ กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อที่จะกำจัดขบวนการการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นใน 9 จังหวัดใหญ่ ๆ ที่ตั้งอยู่ติดกับทะเลอ่าวไทย โดยทางมูลนิธิ LPN ยังได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการภายในกระทรวงแรงงานที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องแรงงานเด็กและแรงงานบังคับในโรงงานแปรรูปกุ้ง รวมไปถึงโรงงานแปรรูปอาหารทะเล และในภาคการเกษตรอีกด้วย


การทำงานร่วมกับภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมในพื้นที่

LPN ทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างพันธมิตรร่วมกันกับภาคธุรกิจที่อยู่ในและอยู่รอบ ๆ จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อทำให้เกิดความโปร่งใสในกระบวนการผลิตและยกระดับสภาพการทำงานโดยได้มีการจัดตั้งโครงการ เสียงของแรงงาน เพื่อที่จะสร้างความตระหนักในเรื่องสิทธิแรงงานในกลุ่มชาวไทยและแรงงานข้ามชาติโดยเป็นการทำงานในลักษณะของการอบรมและเข้าถึงชุมชนเพื่อช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการร้องเรียนปัญหาที่แรงงานพบผ่านสายด่วนของ LPN ที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง


งานอีกด้านของ LPN คือการสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมกันระหว่างกลุ่มแรงงานข้ามชาติกลุ่มอื่น ๆ รวมไปถึงกลุ่มที่สนับสนุนสิทธิของแรงงานข้ามชาติ อย่างเช่นเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ (ANM) เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) เครือข่ายปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ (ATN) เครือข่ายปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ในประเทศกัมพูชาและประเทศไทย  (CAHT)  เพื่อที่จะเข้ามาทำงานร่วมกันและสร้างให้เกิด เครือข่ายความร่วมมือด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย (MUNT)  ซึ่งในการรวมตัวกันนี้จะรวมไปถึงกลุ่มอื่น ๆ อย่างเช่นองค์กรชุมชน (Community Based Organizations)


การลงโทษผู้กระทำความผิด / การดำเนินคดีอาญา

LPN ได้ช่วยเหลือทางด้านกฎหมายกับแรงงานข้ามชาติกว่า 3,000 คนต่อปี ทีมงานด้านกฎหมายของเราทำงานอย่างหนักเห็นได้จากการตอบรับสายที่โทรเข้ามาจากแรงงานข้ามชาติกว่า 200 สายต่อวัน ซึ่งมีทั้งการโทรเข้ามาสอบถามเรื่องสภาพการทำงาน สถานะทางด้านกฎหมายของแรงงานข้ามชาติ หรือการแจ้งการถูกทำร้ายในที่ทำงาน และเมื่อแรงงานต้องการความช่วยเหลือด้านกฎหมาย ทางทีมงานของเราก็จะช่วยเหยื่อในกระบวนการทางกฎหมายทั้งหมด ทั้งการต่อรองกับนายจ้างเรื่องค่าชดเชย การคุ้มครอบพยาน การให้ที่พักพิง การเตรียมการให้ปากคำ การสืบค้นข้อมูลและพยานหลักฐาน รวมไปถึงการเดินทางไปศาล

แม้ว่าเหยื่อของการค้ามนุษย์จะมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความคุ้มครองจ้ารัฐและการสนับสนุนด้านกฎหมายเมื่อพวกเขาได้รับการระบุและยืนยืนโดยรัฐแล้ว แต่ในระหว่างกระบวนการยืนยันนี้เองที่เหยื่อหลายคนของขบวนการค้ามนุษย์จะไม่ได้รับการคุ้มครองเพราะไม่สามารถยืนยันว่าเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกรณีของแรงงานประมง และเมื่อเป็นอย่างนั้น LPN จึงมีส่วนสำคัญในการให้ยื่นฟ้องในข้อหาอื่น ๆ แทนอย่างการกักขังหน่วงเหนี่ยวเพื่อให้แรงงานได้รับการชดเฉยในรูปแบบอื่น

ข่าวแรงงานข้ามชาติ การสื่อสาร และค้นคว้าหาข้อมูล


LPN ได้ทำงานร่วมกับสื่อมวลชนของแต่ละประเทศที่แรงงานข้ามชาติเดินทางมาเพื่อแบ่งปันข่าวสารเกี่ยวกับข้อตกลงการนำเข้าแรงงานที่มีการปรับเปลี่ยน หรือกระบวนการลงทะเบียนและสมัครเพื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทย และยังรวมไปถึงเทคนิคในการเคลื่อนย้ายข้ามแดนให้ปลอดภัย LPN ยังได้ทำงานร่วมกับสื่อออนไลน์ในพื้นที่โซเซี่ยลมีเดียอื่น ๆ อีกกว่า 100,000 แห่ง โดยที่สื่อเหล่านั้นก็ได้ให้คำแนะนำ และอธิบายถึงการเดินทางข้ามแดนอย่างปลอดภัย การสร้างความตระหนักเรื่องสิทธิหรือเพิ่มโอกาสในการสร้างเครือข่ายของแรงงานข้ามชาติในประเทศต้นทาง

นอกเหนือจากนั้น LPN ยังเปิดโอกาสสำหรับนักศึกษา นักวิจัย นักข่าวและองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในโลก โดย LPN ทำหน้าที่เป็นเหมือนข้อมูลสำหรับการเผยแผร่ประเด็นสำคัญของสิทธิแรงงานและการต่อต้านการค้ามนุษย์

LPN ยังได้ร่วมทำงานกับหน่วยงานการศึกษาและหน่วยงานการวิจัยอย่าง สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาลัยมหิดล คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และอีกหลากหลายมหาวิทยาลัย

Education
ศูนย์เรียนรู้สำหรับลูกหลานแรงงานข้ามชาติ

ศูนย์เรียนรู้สำหรับลูกหลานแรงงานข้ามชาติ​


ที่ LPN เรามองว่าการเลือกปฎิบัติและการทำให้เป็นคนชายขอบคือรากฐานของปัญหาการค้ามนุษย์และการขูดรีดแรงงาน และเพื่อที่จะหยุดวัฐจักรนี้เราได้ทำงานอย่างหนักเพื่อพลักดันให้ลูกหลานของแรงงาข้ามชาติเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐไทย โดยยุทธศาสตร์ของเราจะประกอบไปด้วยการสร้างศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่อาศัยของแรงงานข้ามชาติ การสร้างชั้นเรียน 2 ภาษาที่สอนภาษาแม่ของแรงงานข้ามชาติและภาษาไทยเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้กับลูกหลานของแรงงานข้ามชาติ การสร้างห้องเรียนเคลื่อนที่ที่ช่วยให้ลูกหลานของแรงงานข้ามชาติลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบโรงเรียน นอกเหนือจากนั้นยังมีการสร้างค่ายเตรียมความพร้อมทั้งพ่อแม่และลูกหลานของแรงงานข้ามชาติเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างคนในพื้นที่กับกลุ่มแรงงานข้ามชาติ โดยการทำงานของเรานี้ได้รับถูกนำเอาไปใช้โดยนักการศึกษาและยังแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จจากสถิตของนักเรียนที่ยังคงอยู่ในชั้นเรียน


LPN เชื่อว่าการศึกษาคือทางออกที่ดีที่สุดในการปกป้องกลุ่มคนและชุมชนที่มีความเปราะบาง ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้และป้องกันตนเองจากขบวนการค้ามนุษย์ และสำหรับครอบครัวของแรงงานข้ามชาติที่มักจะต้องเคลื่อนย้ายบ่อยครั้งเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น พวกเขามักจะต้องพบกับสภาพความเป็นอยู่ที่ยากลำบากซึ่งจะทำให้พวกเขาไม่มีทางเลือกมากนักสำหรับลูกหลาน เพราะต้องเลือกระหว่างการที่จะต้องนำเอาลูกหลานไปยังที่ทำงานด้วยซึ่งมักจะมีสภาพอันตรายอย่างไซต์ก่อสร้าง หรือปล่อยลูกหลานทิ้งไว้ในที่พักที่มักจะไม่มีใครคอยดูแล


โดย LPN ได้มุ่งเน้นการทำงานในพื้นที่นี้ ที่ ๆ กลุ่มแรงงานข้ามชาติมักจะอยู่กันอย่างแออัดแต่กลับไม่มีภาคประชาสังคมเข้าไปทำงานมากนัก โดย LPN ได้ทำการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชนที่จะได้เรียนรู้ทักษะที่สำคัญและเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาลไทย LPN เร่ิมต้นด้วยการให้ความรู้กับครอบครัวของแรงงานข้ามชาติถึงความสำคัญของการนำเอาลูกหลานเข้าสู่ระบบการศึกษา โดย LPN ได้ช่วยจัดเตรียมและฝึกสอนครูที่สามารถสื่อสารกับลูกหลานของแรงงานได้ทั้งในภาษาไทยและภาษาแม่ของแรงงานเอง

บริจาคกับเรา

ถ้าคุณเห็นว่าเรื่องราวเหล่านี้สำคัญ และอยากมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง สามารถทำได้ผ่านการบริจาคโดยตรงมายัง LPN การสนับสนุนของคุณจะถูกนำไปใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงและป้องการตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ เงินบริจาคทั้งหมดจะถูกนำไปใช้ในการปฏิบัติการช่วยเหลือแรงงาน ป้องกันการค้ามนุษย์

และรณรงค์ด้านสิทธิของแรงงาน

LPN_SamutSakhon_Schoolcamp_20171013_Sank

ดูว่า LPN เริ่มต้นอย่างไร และเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางที่เราสร้างขึ้นมาเป็นเวลากว่า 15 ปีเพื่อต่อสู้กับการค้ามนุษย์

 

P3050328.jpg

พบกับทีมงานนักกิจกรรม นักสังคมสงเคราะห์ และอดีตแรงงานประมงที่ทำงานร่วมกับ LPN

DSC00387.jpg

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการที่เรากำลังทำอยู่ และพันธมิตรที่ช่วยให้การทำงานของเราเป็นไปได้

 

หากท่านต้องการ
ความช่วยเหลือ

แจ้งเรื่อง ขอความช่วยเหลือ ขอข้อมูลเกี่ยวกับแรงงาน
ทั้งในด้านกฎหมายหรืออัพเดทขั้นตอนการลงทะเบียนที่เกี่ยวกับแรงงานจากรัฐ

 

สามารถติดต่อเราโดยตรงได้ทั้งภาษา ไทย เขมร ลาว และ พม่า

  • Facebook - Black Circle

ภาษาไทย

+66 84 121 1609

និយាយជាមួយនរណាម្នាក់ជាភាសាខ្មែរ

+66 85 534 1595

ເວົ້າກັບຄົນອື່ນໃນລາວ

+66 92  321 1516

မြန်မာလိုပြောသည်။

+66 34 434 726

bottom of page