ทำไมเราต้องเปลี่ยน Mindset ใหม่กับกลุ่มประชากรข้ามชาติในประเทศไทย
หากวันนี้เราจะมองแค่แรงงานจากเพื่อนบ้านหรือกลุ่มประชากรข้ามชาติจากประเทศเมียนมา ลาว และกัมพูชา เพียงแค่ฟันเฟือง เสมือนดั่งกลไกเครื่องจักรในการผลิต เป็นปัจจัยการผลิตนำเข้าที่สำคัญแรก เป็นทุนมนุษย์ที่ใช้แล้วให้หมดไป เดี๋ยวจะงอกจะออกลูกออกหลานขึ้นมาใหม่ให้ใช้ได้เรื่อยๆ ตลอดเวลา
ดังนั้น การเป็นหรือมีความรู้สึก Mindset แบบเดิมๆ ซึ่งมองไม่เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นเพียงการมองแบบแยกส่วน มีความแปลกแยก และคิดในการจัดการในเชิงบริหารธุรกิจเท่านั้น ไม่ได้ดำรงอยู่ขององคาพยพการอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์ และการมองแบบธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านแต่อย่างใด
หากวันนี้ หากพวกเราหนึ่งในจำนวนหลายล้านคนเปลี่ยนแนวความคิดหรือปรับ Mindset ใหม่ ซึ่งเดิมที่หลายต่อหลายคนมักมองแบบความคับแคบอยู่ในใจ เปลี่ยนเป็นการเปิดกว้างประกอบกับความทันสมัยใหม่และการอยู่ร่วมกันอย่างหลากหลาย เราจึงมองใหม่ว่า "ทุกคนสามารถพัฒนาได้ สามารถดึงความรู้ ความสามารถ ภูมิปัญญามาเผยแพร่เรียนรู้ระหว่างกันได้ หรือส่งต่อเปลี่ยนผ่านและมีส่วนร่วมในการพัฒนาร่วมกันได้ จึงเป็นการมองแบบมองเห็นศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพที่พึงให้ได้รับและมีแนวทางการปฏิบัติดีต่อพวกเขาในความเป็นมนุษย์เฉกเช่นเดียวกัน
เฉกเช่นนั้นแล้ว การดึงเอาศักยภาพความสามารถมาพัฒนาและต่อยอดได้ในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาในมิติเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม มากกว่าการใช้เรี่ยวแรงเพื่อขับเคลื่อนแต่เศรษฐกิจแต่เพียงถ่ายเดียว ซึ่งมีผลปรากฏชัดเจนว่า การใช้มนุษย์เป็นทุนหรือปัจจัยการผลิตที่ด้อยค่าเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ส่งผลอย่างรุนแรงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน อาทิ การใช้แรงงานบังคับ แรงงานเด็ก แรงงานเยี่ยงทาส และค้ามนุษย์ในรูปแบบของแรงงาน เด็ก ผู้หญิง เป็นต้น ซึ่งกลับกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบในระดับสากล
แรงงานข้ามชาติ หรือกลุ่ประชากรเพื่อนบ้าน พวกเขาคือคือใคร บริบทความเป็นอยู่และการจัดการด้านแรงงานเป็นอย่างไร
กลุ่มประชากรข้ามชาติ โดยเฉพาะในสามสัญชาติคือ เมียนมา ลาว และกัมพูชา เคลื่อนย้ายอพยพมาทำงานและพักอาศัยในประเทศไทยมานมนานไม่ต่ำกว่าสี่ถึงห้าทศวรรษ หากประมาณการณ์จำนวนตัวเลขแรงงานโดยรวม คาดว่าไม่ต่ำกว่า 6-7 ล้านคน ในจำนวนนี้อยู่ในระบบที่มีเอกสารรับรองจากทางการของประเทศเพื่อนบ้านและทางการไทยเพียงแค่ไม่เกิน 3 ล้านคน พวกเขามามีส่วนร่วมสร้างเศรษฐกิจไทยในฐานราก ในกิจการต่างๆ ที่ส่วนใหญ่คนไทยไม่นิยมทำ อาทิ งานที่ยากลำบากต้องใช้แรงกายเยอะมากกว่าปกติ (Difficulty) งานสกปรก (Dirty) ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวกับน้ำ ความชื้น สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม มีผลต่อภาวะสุขภาพ งานอันตราย (Dangerous) ซึ่งเป็นงานที่อยู่บนความเสี่ยงสูง หากผู้ประกอบการไม่มีนโยบายที่ดี ขาดมาตรฐานด้านแรงงาน พวกเขาอาจสามารถเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเวลา หนำซ้ำหากพวกเขาไม่มีระบบคุ้มครองทางสังคมที่ดี อาทิ การเข้าถึงระบบประกันสุขภาพ ระบบประกันสังคม การประกันอุบัติเหตุจากภาคเอกชน ดังนั้น ปัญหาอื่นๆ ทางสังคมก็จะติดตามมาอย่างเห็นได้ชัด
อีกงานหนึ่งที่หลายคนไม่คำนึงถึง นั่นคืองานที่พวกเขาถูกกระทำเยี่ยงเป็นทาส ถูกบังคับค้ามนุษย์ เป็นงานที่ลดทอนความเป็นมนุษย์ (Dehumanize) หรือ ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง ซึ่งที่ผ่านมากว่า 20 ปีมานี้ ประเทศไทยเผชิญปัญหานี้ต่อกรณีปัญหาการค้ามนุษย์ แรงงานเด็ก แรงงานทาสในอุตสาหกรรมแปรรรูปสัตว์น้ำ อาหารทะเล ในกิจการประมงทะลและต่อเนื่องจากประมงทะเล ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นผ่านกลไกความร่วมมือในประเทศและระหว่างประเทศ และร่วมมือย่างจริงจังกับองค์กรภาคประชาสังคม รวมถึงมีหน่วยงานตัวแทนของรัฐบาลสหรัฐอเมริการ่วมด้วย นอกจากนั้นทางสหภาพยุโรปมีการรายงานสถานการณ์ปัญหาด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนในแต่และปี พร้อมทั้งกำชับให้รัฐบาลไทยมีแนวนโยบายระดับชาติที่จะนำมาซึ่งแผนนโยบายและมาตรการการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้ และมีการมีส่วนร่วมในทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาที่แท้จริงและโจทย์ที่สำคัญข้างต้น เราจะหาทางแก้ไขปัญหที่ตรงจุดและมี “การยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานกับสิทธิมนุษยชนที่จับต้องได้” ได้อย่างไร
อดีต ปัจจุบันนี้ และอนาคตต่อไปนี้ ประเทศไทยนั้นก็จำต้องยังขาดแคลนแรงงานจริงๆ ในเกือบทุกกิจการ ทุกประเภทของงาน แม้กระทั่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการของไทยที่ผู้คนไม่ได้นึกถึงก็กำลังขาดแคลนแรงงานอย่างหนักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน รัสเซีย ประเทศในทวีปยุโรป เป็นต้น แสดงว่าในหลายกิจการคนไทยไม่นิยมทำในอุตสาหกรรมภาคการผลิตต่างๆ และรวมถึงว่า สถานะประเทศไทยอยู่ในช่วงกำลังอย่างเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ อัตราการเกิดน้อย กำลังแรงงานลดลง คนทำงานคนไทยมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้นและหรือเป็นเจ้าของกิจการตนเองมากขึ้นตามลำดับ
เมื่อสถานประกอบการต้องการแรงงานสูงมาก นโยบายรัฐบาลไทย จะทำอย่างไรให้มีมาตรการที่เอื้อต่อผู้ประกอบการ สามารถจัดหาแรงงานที่มีคุณภาพ มีสถานะทางกฎหมายการเข้ามเมืองที่ถูกต้อง การนำเข้าแรงงานโดยตรงจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพและคำนึงถึงการบริหารจัดการแรงงานที่ดี มีนโยบายที่ไม่เอารัดเอาเปรียบแรงงานนำเข้า อาทิ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ตัวแรงงานไม่ต้องเบียดบังตนเองมากนัก ต้องถูกบังคับให้เป็นหนี้สินล้นตัวเกินไป และแม้กระทั่งมีผู้ซื้อต่างประเทศต้องมีข้อกำหนดให้บริษัทผู้ผลิตต้องมีนโยบายด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ความรับผิดชอบร่วมกันในการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม การจ้างงานที่มีคุณค่า การเพิ่มพูนทักษะและฝีมือแรงงานให้มีประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่สามารถผลักดันจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีปัจจัยแทรกซ้อน ซ้อนทับเรื่องผลประโยชน์มากมายด้านแรงงาน
เมื่อสถานประกอบการมีและใช้แรงงานข้ามชาติแล้ว ต้องปฏิบัติตามกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีมาตรฐานแรงงานที่ดีเพียงพอที่จะการันตีได้ว่า สถานประกอบการนั้นๆ เป็นต้นแบบที่ดีหรือมีแนวปฏิบัติที่ดีของการใช้แรงงาน (Good Labour Practice) แต่จะมีข้อสังเกตว่า จะมีสถานประกอบการขนาดกลางและใหญ่เท่านั้นที่สนใจใส่ใจเรื่องนี้ เนื่องจากส่วนใหญ่มีการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ที่ผู้ซื้อต่างประเทศกำชับเรื่องมาตรฐานแรงงาน การจัดการที่ดีด้านแรงงาน การมีผู้ตรวจสอบการใช้แรงงานจากบริษัทหรือบุคคลภายนอก หรือการมีองค์กรที่สาม Third Party มาเพิ่มเติมดูแลด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยน ( Business and Human Rights) เป็นต้น
ผู้ประกอบการขนาดเล็กถึงกลาง หรือขนาดย่อม ส่วนหนึ่งขาดการจัดการด้านมาตรฐานแรงงาน ส่วนหนึ่งเจ้าของผู้ประกอบการเป็นชาวต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน และไม่ได้ส่งออกไปยังตลาดที่สำคัญๆ เช่น ยุโรป อมริกา หรือ ญีปุ่น จะไม่สนใจเรื่องนี้เท่าใดนัก การละเมิดสิทธิแรงงานจึงเกิดขึ้นบ่อยเป็นประจำ จึงเป็นเหตุให้ทางการไทยที่เกี่ยวข้องเข้าไปกวดขัน จับกุมตรวจสอบอยู่เนืองๆ ตามช่วงเวลาที่ถูกกำชับมาจากผู้บริหารระดับบน ซึ่งไม่ได้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมากนัก
ความเลวร้ายในการบริหารจัดการด้านแรงงานของฝ่ายบุคคล ที่มีส่วนหนึ่งของฉ้อฉล ฉ้อโกง สมคบคิดกับกระบวนการคอร์รัปชั่นของกลุ่มนายหน้ารับผลประโยชน์ ตั้งแต่การลงทะเบียนแรงงาน การเปิดรับพนักงานใหม่มีค่าสมัครค่าใช้จ่ายจำนวนมาก การอ้างเงื่อนไขต่างๆ เพื่อเรียกรับเงินว่าต้องส่งให้หน่วยงานหนึ่งซึ่งไม่ทราบได้ว่าเป็นหน่วยงานใด เพื่อการดูแลคุ้มครองแบบนอกระบบ
ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากอยู่ในวังวนของการถูกกระทำซ้ำ ถูกลิดรอนสิทธิ ถูกเรียกเก็บผลประโยชน์ ถูกระเบียบและกฎหมายเล่นงาน ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ปัญหาทุกอย่างตกไปยังแรงงานแต่ถ่ายเดียว ส่วนผู้ส่วนรู้ร่วมเห็นและกระทำมักจะลอยนวลจากระบบอุปถัมภ์ซึ่งทุกคนเข้าใจตรงกันได้ว่ามีผลประโยชน์ร่ววมกัน
พี่น้องแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะชาวเมียนมา มีสิทธิในการเลือกใช้ชีวิตน้อยมากเมื่อตนเองเผชิญกับสภาวะปัญหาทางการเมืองในเมียนมา หลายคนเป็นชนกลุ่มน้อย เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุ หลายคนตกอยู่กับการจับจ้องของทางการทหารเมียนมา เนื่องจากการฝักใฝ่กับความเห็นทางการเมืองการปกครองที่แตกต่างกันกับอีกฝ่ายหนึ่ง การเดินกลับยังประเทศต้นทางจึงมิใช่ทางเลือกของตนเอง การมาทำงานและอยู่เมืองไทย ประหนึ่ง การหนีเสือมาปะจรเข้ จะหนีร้อนมาพึ่งเย็นต้องอาศัยคนที่มีใจโอบอ้อมอารี และเห็นใจเข้าใจจริงๆ ดังนั้น จึงไม่แปลกว่า การอพยพย้ายถิ่นของชาวเมียนมาในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มาเป็นแบบครอบครัวมากขึ้นทุกวันทุกสถานการณ์แห่งความเลวร้ายของปัญหาการสู้รบในประเทศต้นทางของตนเอง โจทย์สำคัญของรัฐเราคือ เราจะบริหารจัดการอย่างไรให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในฐานะพลเมืองอาเซียน ในฐานะที่ประเทศเราเป็นพื้นที่เศรษฐกิจการสร้างงานสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญ
เราจะเน้นการมีส่วนร่วมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปพร้อมๆ กัน “เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ตามกรอบแนวคิด Sustainable Development Goals (SDGs) นั้น ซึ่งมีเป้าหมายขจัดความยากจนให้หมดไป พร้อมกับดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกคนในประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน ซึ่งองค์การสหประชาชาติ (United Nations) จัดทำขึ้นสางกรอบและวาระการพัฒนาระดับโลกสู่ชุมชนท้องถิ่นให้บรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผลตาม 17 ข้อ สำหรับกลุ่มพี่น้องแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย เสมือนกลุ่มหนึ่งที่มีขนาดใหญ่และสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจทางบวกอย่างมหาศาล สามารถสร้างความเจิรญเติบโตทางเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกและบริการอย่างมากมาย ดังนั้นตามวาระการพัฒนาและพุ่งเป้าไปยังเป้าหมายอย่างน้อยในลำดับที่ 1,3,4,5,8, และ 16 จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้พวกเขาถูกปฏิบัติเฉกเช่นการเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนา สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ เข้าถึงทรัพยากรเครื่องมือต่างๆ การได้รับโอกาสอย่างเสมอภาคเท่าเทียม สิทธิที่ต้องพึงได้รับและมีการผลักดันให้เข้าถึงสิทธิต่างๆ ที่พึงได้รับเสมอเหมือนกลุ่มประชากรอื่นๆ ในประเทศไทย ดังนั้น ตามความหมายข้างต้น รัฐไทยเองต้องมีแนวนโยบาย หลักปฏิบัติที่ดีในการดำเนินการภายใต้กรอบอนุสัญญาต่างๆ ที่รับสัตยาบันกับนานาชาติ ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่ให้คุณแก่พวกเขาในฐานะพลเมืองคนหนึ่งในองคาพยพใหญ่แห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสุขสันติ
จากประเด็นสถานการณ์ข้างต้นจำนวน 8 ข้อดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อนงานของมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน หรือ LPN : Labour Protection Network ที่ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องด้านแรงงานมาเกือบยี่สิบปี และปัจจุบันได้คิดค้นการทำงานยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานที่ปลายทางประเทศไทย ที่จะส่งผลถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคอาเซียน จึงเป็นที่มาของ 20ร่างยุทธศาสตร์งานขององค์กร ซึ่งบางยุทธศาสตร์ได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องและมีองค์ความรู้ระดับหนึ่งที่สามารถเผยแพร่ในที่สาธารณะ
Comments