ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่กรุงโตเกียวในประเทศญี่ปุ่น ปฏิมา ตั้งประเสริฐกุล ผู้จัดการของมูลนิธิเรา ได้เล่าถึงสถานการณ์อันเลวร้ายของการเป็นทาสยุคใหม่ในอุตสาหกรรมประมงที่เกิดขึ้นทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการแถลงข่าวนี้ปฏิมาได้เล่าถึงชีวิตของลูกเรือกว่าสามพันคนที่ติดเคยอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย และได้รับการช่วยเหลือให้กลับมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ยาวนานนับทศวรรษและได้สะท้อนให้เห็นถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในอุสาหกรรมประมงไทยที่ทำเพื่อการส่งออก
อุตสาหกรรมอาหารทะเลของประเทศไทยที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นผู้ส่งออกอันดับต้นๆ ปัจจุบันได้มีการปฏิรูปที่สำคัญหลายครั้งและมีเป้าหมายเพื่อขจัดการทำประมงผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ และแม้จะมีความพยายามเหล่านี้ แต่ยังคงมีประเด็นอื่นๆเหลืออยู่เช่น การบังคับใช้ยาเสพติดในหมู่ลูกเรือเพื่อยืดเวลาการทำงาน ความยากในการระบุตัวเหยื่อที่มาจากความรุนแรงและการติดยาเสพติด หรือแม้กระทั่งการขาดมาตรการด้านความปลอดภัยสำหรับลูกเรือในทะเล
ปฏิมายังได้เน้นย้ำนี้คือผลที่มาจากการบริโภคอาหารทะเลของทั่วโลกที่ได้ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิแรงงาน
ฉันไม่อยากได้ยินคำพูดที่ลูกเรือเคยบอกเลยว่า '“ชีวิตของผมมีราคาถูกกว่าปลาที่คนซื้อกินกัน”
ปฏิมาได้เรียกร้องให้มีการเรียกร้องให้อุตสาหกรรมประมงทั่วโลกปฏิบัติตามหลักการด้านจริยธรรมในอุตสาหกรรมอาหารทะเล และปฏิมายังได้เชิญชวนให้ผู้บริโภคทั่วโลกคำนึงถึงแหล่งที่มาของอาหารทะเลที่ซื้อมาอีกด้วย เพื่อปกป้องสิทธิและศักดิ์ศรีของผู้เป็นเหยื่อในอุตสาหกรรมประมง และสร้างความมั่นใจในสวัสดิภาพของคนงานและความยั่งยืนของทรัพยากรอาหารทะเลในระยะยาว
Comments