top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนSompong Srakaew

18 ปีของการมุ่งมั่นในการยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มประชากรข้ามชาติในไทย



LPN มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มประชากรข้ามชาติ แรงงงานข้ามชาติในประเทศไทยโดยได้ร่วมมือกับภาคีหลายส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และเครือข่ายทางสังคมแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย


ตลอดระยะเวลา 18 ปีที่ผ่าน เรามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาผู้ประสบปัญหาซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางพิเศษ ผู้ที่เข้าไม่ถึงกลไกการคุ้มครองสิทธิ ผู้ไม่ได้รับการคุ้มครองทางสังคม ผู้เป็นแรงงานที่ถูกกดขี่ กดทับ ไม่ได้ความเป็นธรรมจากการทำงาน ผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการถูกค้ามนุษย์ด้านแรงงานจำนวนมาก และร่วมยกระดับการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ในประเทศไทย กับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคธุรกิจในไทยและต่างประเทศ


ในปัจจุบันรัฐบาลไทยเห็นความสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กร LPN ทำให้เกิดความร่วมมือในทุก ๆ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง การบูรณาการการทำงานร่วมกัน รวมถึงการพัฒนาความร่วมมือแก้ไขปัญหาด้านแรงงานที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการถูกค้ามนุษย์ การถูกละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกายกับองค์กรภาค ประชาสังคม รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐของประเทศต้นทาง เมียนมา ลาว และกัมพูชา


เราจะทำให้มูลนิธิ LPN ​ บรรลุวิสัยทัศน์และประสบความสำเร็จใน 10 ปีนี้ได้อย่างไร?

วิสัยทัศน์ของมูลนิธิฯ “LPN เป็นองค์กรด้านแรงงานที่มุ่งมั่นส่งเสริมคุณภาพชีวิต คุ้มครองสิทธิ ความเสมอภาค การพึ่งตนเอง และสรรค์สร้างการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติและกำลังต่อสู้เพื่อหยุดยั้ง โศกนาฏกรรมของมนุษย์ที่มีอยู่เบื้องหลังอาหารทะเลที่ไม่ยั่งยืน”


มูลนิธิฯ ได้มุ่งมั่นและมีความพยายามตอบโจทย์การดำรงชีวิตที่มีความหมายต่อคนเล็กคนน้อย คนเปราะบาง คนเข้าไม่ถึงสิทธิ เข้าไม่ถึงการบริการของรัฐตามสิทธิที่พึงได้รับในประเทศไทย และการได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิตามหลักสิทธิมนุษยชน





ตลอดระยะเวลากว่า 25 ปี ได้จดจ่อใคร่ครวญ วินิจวิเคราะห์ใส่ใจกับประเด็นการคุ้มครองสิทธิ การคุ้มครองทางสังคมแก่กลุ่มประชากรข้ามชาติในประเทศไทย มีประเด็นหลายเรื่องที่ประสบความสำเร็จอย่างน่าพึงพอใจ เป็นความสำเร็จที่ไม่สามารถนับเป็นตัวเงิน เป็นคุณค่าทางสังคมได้ แต่รับรู้ว่า เรามีความสุขเสมอเพื่อทุกคนมีโอกาสทางการศึกษา ได้รับการปลดปล่อยทุกข์ยาก ได้รับการคุ้มครอง ฟื้นฟูเยียวยา และย้ายถิ่นอย่างปลอดภัย


แต่ยังมีอีกมากมายที่อยากทำให้สำเร็จ แต่ยังไม่ได้ทำ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนที่เห็นคุณค่าและความสำคัญ ใส่ใจ ตระหนักร่วมและมาสร้างตำนานร่วมกันได้ อย่างน้อย 17 ภารกิจบวกกับยุทธศาสตร์ใหญ่ๆ คือ


  1. การสร้างพิพิธภัณฑ์แรงงานข้ามชาติ เพื่อแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาในทุกมิติของแรงงานข้ามชาติ กลุ่มประชากรข้ามชาติในประเทศไทยที่เข้ามามีบทบาทสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน

  2. การสร้างและพัฒนาศูนย์พักพิงฟื้นฟูเยียวยาและฝึกอบรมผู้ประสบปัญหาด้านแรงงาน Training and Rehabilitation Center for Thai and Migrant Labour (L-TReC) หรือเรียกว่า บ้าน LPN สำหรับฝึกอบรม ฟื้นฟูเยียวยาผู้ประสบปัญหาและสามารถพึ่งตนเองได้ และเป็นแหล่งอาหารปลอดภัย

  3. การศึกษาและการพัฒนาของวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ในและต่างประเทศเพื่อการพึ่งตนเองในอนาคต

  4. การสร้างนวัตกรรมทางสังคมเพื่อเข้าถึงการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาได้จริงๆ และหรือการผลิตสร้างแอพพลิเคชั่น (Application) ให้กลุ่มประชากรข้ามชาติเข้าถึงการช่วยเหลือได้จริงๆ

  5. คลีนิกนักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพอสาสมัครภาคประชาสังคม CSOs Social Worker Clinic Volunteer

  6. การสร้างกลไกแนวปฏิบัติที่ดีของการเข้าถึงการช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ การรับฟังเสียงแรงงานข้ามชาติ ผ่านกระบวนการทำงานร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน โดยยึดหลัดแนวคิดธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน Labour Voices and B&HR : Business and Human Rights with Private Sectors

  7. การสร้างกลุ่มและเครือข่ายทางสังคมแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย MLN: Migrant Labour Network around of Thailand ผ่านกลุ่ม Migrant Labour Group : MLG ให้กระจายอยู่ทั่วไปในชุมชนแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย และส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์ฝึกอบรมภาษา คอมพิวเตอร์ ทักษะอาชีพ และฝีมือแรงงานให้มีความเชี่ยวชาญ พร้อมขยายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ

  8. การสร้างโอกาสทางการศึกษาและการมีงานทำที่มีทักษะ และการสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อเด็กข้ามชาติในประเทศไทย และผลักดันการมีอาชีพการมีงานทำตามกรอบวุฒิบัตร หรือใบประกาศที่ได้รับอย่างแท้จริง Family Counselors and Sponsorship for Migrant Children in Thailand

  9. การระดมทุนในประเทศไทย Fundraising by Global Connect and Civil society in Thailand ในการดำเนินการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานและการสร้างเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมไทยอย่างสันติสุข

  10. การสร้างความแข็งแกร่งของเครือข่ายภาคประชาสังคมด้านแรงงานและการป้องกันการค้ามนุษย์ TIP -ACT Coalition and Union Networking in ASEAN และพันธมิตรเครือข่ายความร่วมมือภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม กลุ่มแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ปฏิบัติการ

  11. การสร้างกลไกการเข้าถึงการช่วยเหลือฉุกเฉิน กับการปฏิบัติการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม จากมือถึงมือสู่ผู้ประสบปัญหา LPN Hand to Hand Humanitarian Assistance for Migrant Workers Facing Crisis in Thailand - SDG

  12. การส่งเสริมสุขภาวะ การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การกีฬา การท่องเที่ยว ของคนเพื่อนบ้าน Art​ Performance from Migrant Workers

  13. การฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนแรงงานข้ามชาติ การอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่งทะเล และการมีส่วนร่วมลดโลกร้อน Goodbye Trash : Zero Waste Myanmar and Thai Community by UAS: Urban Action Samutsakhon

  14. การผลักดันส่งเสริมตลาดทางสังคมชาวเมียนมาร์ในไทย และส่งเสริมวัฒนธรรมการบริโภคที่ถูกหลักโภชนาการ

  15. การรณรงค์เชิงนโยบายผ่านสื่อและภาพยนตร์ และการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยกลุ่มพี่น้องแรงงานข้ามชาติ Media Advocacy and Film maker for Migrant

  16. การสร้างพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ทางสังคมให้พี่น้องแรงงาน เด็กข้ามชาติมีพื้นที่การแสดงออกทางสังคม วัฒนธรรม ดนตรี และความบันเทิง (Cultural & Entertainment )การแสดงต่างๆ รวมถึงการเป็นพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับคนไทย หรือนานาชาติที่สนใจ

  17. การเชื่อมโยงภารกิจและยุทธศาสตร์ต่างๆ กับประเทศในภูมิภาคอาเซียน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงยุโรปและสหรัฐอเมริกา

ดังนั้น มูลนิธิฯ ต้องการการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนตั้งแต่ระดับรากหญ้า กลุ่มเป้าหมายกลุ่มประชากรข้ามชาติ เครือข่ายทางสังคมแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย คนไทยและเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมในและต่างประเทศ องค์กรภาคธุรกิจในละต่างประเทศ และหน่วยงานภาครัฐทุกระดับ






ดู 77 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page