top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนSompong Srakaew

มหาวิทยาลัยชีวิตแรงงาน​

สมพงค์ สระแก้ว ผู้เขียน
"มหาวิทยาลัยชีวิตแรงงาน​ ก่อร่างมาเกือบ​ 10 ปี​ ส่งมอบ ความรู้ และทักษะการใช้ชีวิต ของกินของแรงงานข้ามชาติ ชาวเมียนมาร์ มากกว่า 8,000 คน​ แล้ว" และตอบโจทย์ การยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานและส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ"



ศูนย์ฝึกอบรมการศึกษาเรียนรู้และวัฒนธรรมแรงงานข้ามชาติ (Education & Emotion Management Dhamma Training Center - MEDC) และศูนย์ฝึกอบรมเด็กรายวันอิสระ (DTI) เป็นการรวมกลุ่มพึ่งตนเองของประชากรข้ามชาติสัญชาติพม่าที่มาจากหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดใกล้เคียง


ศูนย์ฝึกอบรม MEDC ได้ดำเนินการภายใต้โครงการเครือข่ายความร่วมมือด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยเพื่อสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะแห่งปัญญา และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและอาเซียน

โดยใช้ชื่อโครงการในภาษาอังกฤษว่า "Migrant Labour Group in Thailand to assist migrants integrate peacefully into Thai society and ASEAN (MLG -ASEAN) " และสนับสนุนโดยมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (Labour Protection Network -LPN)


โดยโครงการนี้มีแนวคิดคือการเป็นประชาคมอาเซียนที่ประชากรอาเซียนต้องร่วมสร้างพื้นที่การเปลี่ยนแปลงและสร้างการเรียนรู้ สร้างมูลค่าในสังคม การปลูกจิตสำนึกในสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคมพื้นที่ปลายทาง พื้นที่การทำงานของแรงงานข้ามชาติ การเป็นชุมชนทางปัญญา ชุมชนภูมิปัญญาและมีพื้นที่สาธารณะในการแสดงออกของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ





การเป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มประชากรแรงงานข้ามชาติ คนไทยในชุมชน และบุคคลทั่วไปที่สนใจ การเป็นเครือข่ายความร่วมมือด้านแรงงานข้ามชาติ และความร่วมมือส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและอาเซียน การเป็นกลไกเชื่อมร้อยพหุวัฒนธรรมที่หลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์

การเป็นศูนย์รับเรื่องเบื้องต้น สะท้อนถึงสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น และดำเนินการต่อการเข้าถึงการช่วยเหลือด้านกฎหมายและคดีความ การเป็นกลไกอาสาสมัคร และเครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังปัญหาในชุมชน การมีส่วนร่วม การพึ่งพาตนเอง และการปรับทัศนคติเชิงบวกร่วมกันของสังคมไทยและแรงงานเพื่อนบ้าน สานสร้างการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข และพัฒนาร่วมกันซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ ฃ

  1. ให้กลุ่มประชากรข้ามชาติได้มีพื้นที่แสดงออกในชุมชน และในพื้นที่สาธารณะพร้อมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในมิติทางสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม

  2. ให้เป็นกลไกของกลุ่มประชากรข้ามชาติที่นำไปสู่การพึ่งพาตนเอง การอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมไทยและอาเซียน

  3. เป็นพื้นที่ฝึกอบรม การจัดการศึกษาเรียนรู้ของกลุ่มแรงงาน เด็ก และเยาวชนข้ามชาติในมิติต่าง ๆ ในการดำรงอยู่และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี

  4. เป็นเครือข่ายจิตอาสา อาสาสมัครคุ้มครองสิทธิแรงงาน (Myanmar Migrant Labour Group-MMLG) ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดใกล้เคียง





โดยการดำเนินภายใต้โครงการนี้เราคาดว่าจะเกิด

  1. กลุ่มประชากรข้ามชาติมีสุขภาวะทางปัญญา มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนกัน เป็นชุมชนทางปัญญาในบริบทสังคมไทย และอาเซียน

  2. กลุ่มคนไทยจะมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมิติทางสังคม วัฒนธรรม ภาษา ศาสนา และชาติพันธุ์

  3. เครือข่ายความร่วมมือด้านแรงงานข้ามชาติ จะยังผลให้เกิดความร่วมมือ มีส่วนร่วมในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ เกิดชุมชนทางปัญญา และกลไกการเชื่อมต่อกับหน่วยงานในชุมชน ท้องถิ่น และระดับชาติ

  4. เกิดนวัตกรรมกระบวนการเรียนรู้แลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน

  5. เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ดูงานของนักศึกษา นักวิจัย และคนที่สนใจทั่วไป



ดู 44 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page