top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนSompong Srakaew

มองที่ “ภูมิปัญญา” คนเพื่อนบ้านมาพัฒนาบ้านเรา อย่ามองแค่เขา “เป็นแรงงาน”



มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน หรือ LPN ได้เปิดเผยว่า มีพี่น้องแรงงานข้ามชาติจำนวนมากพร้อมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาประเทศไทยผ่านการปลูกจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม และการสร้างกระบวนการเรียนรู้คู่คุณธรรม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิได้พัฒนาและสร้างระบบอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติขึ้น เพราะเชื่อว่า ปัญหาและทางออกสุดท้ายคำตอบอยู่ที่ตัวแรงงาน และชุมชนแรงงาน การพึ่งตนเองของพี่น้องแรงงาน การรวมกลุ่มเชิงสร้างสรรค์ การแสดงออกถึงมิติทางวัฒนธรรม ภาษา ศาสนา เป็นหัวใจสำคัญที่จะส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมไทยและอาเซียน​

เครือข่ายความร่วมมือทางสังคมแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย Migrant Laboour Group (MLG) ได้ถูกกำหนดขึ้นจากการปฏิบัติการเรียนรู้ร่วมกันของพี่น้องแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาร์ กัมพูชา และลาวในประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานพื้นที่สร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะแห่งปัญญา และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและอาเซียน Migrant Labour Group in Thailand to assist migrants integrate peacefully into Thai society and ASEAN (MLG-ASEAN)


โดยมีแนวคิดว่า

  1. การเป็นประชาคมอาเซียน ประชากรอาเซียนต้องร่วมสร้างพื้นที่การเปลี่ยนแปลงและสร้างการเรียนรู้ สร้างมูลค่าในสังคม

  2. การปลูกจิตสำนึกในสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคมพื้นที่ปลายทาง พื้นที่การทำงานของแรงงานข้ามชาติ

  3. การเป็นชุมชนทางปัญญา ชุมชนภูมิปัญญาและมีพื้นที่สาธารณะในการแสดงออกของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ

  4. การเป็นแหล่งศึกษา เรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มประชากรแรงงานข้ามชาติ คนไทยในชุมชน และบุคคลทั่วไปที่สนใจ

  5. การเป็นเครือข่ายความร่วมมือด้านแรงงานข้ามชาติ และความร่วมมือส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและอาเซียน

  6. การเป็นกลไกเชื่อมร้อยพหุวัฒนธรรมที่หลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์

  7. การเป็นศูนย์รับเรื่องเบื้องต้น สะท้อนถึงสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น และดำเนินการต่อการเข้าถึงการช่วยเหลือด้านกฎหมายและคดีความ

  8. การเป็นกลไกอาสาสมัคร และเครือข่ายอาสาสมัครเฝ้าระวังปัญหาในชุมชน

  9. การมีส่วนร่วม การพึ่งพาตนเอง

  10. ทัศนคติเชิงบวกร่วมกันของสังคมไทยและแรงงานเพื่อนบ้าน สานสร้างการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข และพัฒนาร่วมกัน


โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การยกระดับการศึกษาเรียนรู้ในกลุ่มประชากรข้ามชาติในประเทศไทย การเสริมกระบวนการจัดตั้งกลุ่ม ชมรมที่ดำเนินการทางสังคม การสร้างระบบอาสาสมัครล่ามชุมชนภาษาเพื่อนบ้าน การฝึกอาชีพที่เหมาะสมแก่กลุ่มประชากรข้ามชาติ ตั้งเป็นศูนย์เครือข่ายความร่วมมือด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย มีศูนย์เครือข่ายในพื้นที่สมุทรสาคร สมุทรปราการ เพชรบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทางสติปัญญาแก่ผู้สนใจ การสร้างกระบวนการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้เกิดความเข้มแข็งทั้งคนไทย แรงงานข้ามชาติ พระสงฆ์ชาวพม่า การจัดกิจกรรมพิเศษในวาระ และเทศกาลต่างๆ การทำกิจกรรมจิตอาสาและสาธารณะประโยชน์ต่อชุมชน และสังคม กิจกรรมห้องสมุดสาธารณะเพื่อแรงงานข้ามชาติ การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาต้นทาง (พม่า กัมพูชา และลาว) การมีส่วนร่วมทำนุบำรุงศาสนา และส่งเสริมการเรียนการสอนหลักศาสนาตามกลุ่มชาติพันธุ์ที่เคารพนับถือ การฝึกอบรมและสอนทักษะเบื้องต้น การใช้คอมพิวเตอร์ กิจกรรมสันทนาการ ฝึกซ้อมดนตรีสำหรับเด็กและเยาวชนข้ามชาติ การประชุม อบรม สัมมนา พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ และการเน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชนคนไทยในท้องถิ่น


ปัจจุบัน เครือข่ายทางสังคมแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย Migrant Labour Group (MLG) มีดังนี้

  1. Myanmar Born Gurakha in ChiangMai , HueHin, Phuket , Pattaya and BKK (MBG)

  2. Shweparami Free Education Centre in Samutprakarn (SFC)

  3. Migrant' Education Development Center in Samutsakhon (MEDC)

  4. “ศูนย์ฝึกอบรมภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมแรงงานข้ามาติชาวเมียนมาร์ สมุทรสาคร หรือ ศูนย์ Mingkalaba Myanmar Center (MMC)

  5. Yadanarsein Migrants Education Development Center(Y.E.D.C),Bangkok,Thailand

  6. ศูนย์ฝึกอบรมวัฒนธรรม การศึกษา ภาษา และศาสนา แสมดำ กรุงเทพมหานคร

  7. ศูนย์ฝึกอบรมวัฒนธรรม การศึกษา ภาษา และศาสนา สำหรับเด็ก และเยาวชน มหาชัยนิเวศน์ สมุทรสาคร

  8. ศูนย์ฝึกอบรมวัฒนธรรม การศึกษา ภาษา และศาสนา บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

  9. ศูนย์ฝึกอบรมวัฒนธรรม การศึกษา ภาษา และศาสนา เขาย้อย เพชรบุรี

  10. กลุ่มฌาปนกิจศพชาวเมียนมาร์ในชุมชนวัดหงส์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

  11. ห้องสมุดแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาร์ในตำบลท่าทราย จังหวัดสมุทรสาคร

จากการดำเนินงานของมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน มีความเชื่อในผลที่จะได้รับว่า กลุ่มประชากรข้ามชาติมีสุขภาวะทางปัญญา มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนกัน เป็นชุมชนทางปัญญาในบริบทสังคมไทย และอาเซียน กลุ่มคนไทยจะมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมิติทางสังคม วัฒนธรรม ภาษา ศาสนา และชาติพันธุ์วรรณา เครือข่ายความร่วมมือด้านแรงงานข้ามชาติ จะยังผลให้เกิดความร่วมมือ มีส่วนร่วมในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ เกิดชุมชนทางปัญญา และกลไกการเชื่อมต่อกับหน่วยงานในชุมชน ท้องถิ่น และระดับชาติ เกิดนวัตกรรมกระบวนการเรียนรู้แลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน และเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ดูงานของนักศึกษา นักวิจัย และคนที่สนใจทั่วไป


ปัจจุบัน พี่น้องแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะชาวเมียนมาร์ในประเทศไทย ผ่านกระบวนการศึกษาอบรมในศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ ข้างต้น ไม่ต่ำกว่า 30,000 คน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงสถานประกอบการต่างๆ ได้คนทำงานที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องลงทุนแม้แต่บาทเดียว



ดู 37 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page