เขียนโดย สมพงศ์ สระแก้ว
ความเป็นมา
องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยร่วมกับองค์กรภาคี ได้แก่ มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (มูลนิธิ LPN) และมูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท (มูลนิธิ FRY) ดำเนินโครงการ SEAS of Change ระยะที่ 2 (SEAS: Stopping Exploitation through Accessible Services) ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก SIDA CIVSAM มีเป้าหมายโครงการเพื่อให้เด็กและเยาวชนสัญชาติกัมพูชาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบาง ได้เข้าถึงสิทธิและบริการในด้านการศึกษา สาธารณสุข และการพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพ เพื่อให้สามารถเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของชุมชนและสังคมต่อไป โดยโครงการฯ มีพื้นที่การดำเนินงานที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ระยอง ตราด และสมุทรสาคร
ด้วยโครงการมีเป้าหมายหลัก คือ การเสริมพลังความเข้มแข็งให้กับภาคประชาสังคม ทั้งในประเทศไทยและกัมพูชา เพื่อทำให้เด็กและเยาวชนข้ามชาติ เข้าถึงสิทธิบริการขั้นพื้นฐาน ตลอดจนพัฒนาศักยภาพภาคประชาสังคม รวมถึงเครือข่ายด้านเด็กและเยาวชน ให้สามารถทำงานกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างใกล้ชิด เพื่อทำให้เด็กและเยาวชนข้ามชาติโดยเฉพาะเด็กหญิงและเยาวชนผู้หญิง ได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและคำนึงถึงมิติความเสมอภาคหญิงชาย นำไปสู่การสร้างสภาวะแวดล้อมในการทำให้ภาครัฐและภาคเอกชน ให้มีความตระหนักรู้ในสิทธิเด็กและความเสมอภาคระหว่างเพศของเด็กและเยาวชนข้ามชาติ โดยเฉพาะเด็กหญิงและเยาวชนผู้หญิง ด้วยการผลักดันเชิงนโยบาย ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
แรงงานข้ามชาติเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ดังนั้น ผู้ประกอบการ หรือภาคธุรกิจควรตระหนักถึงการจัดมาตรฐานคุณภาพชีวิตของแรงงาน รวมทั้งผู้ติดตามที่เป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน ให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา สุขภาพ การปกป้องคุ้มครอง เป็นต้น เมื่อแรงงานมีสุขภาพกายดี สุขภาพจิตใจที่ดี ปราศจากความกังวลต่างๆ ก็จะมีความพร้อม และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ดีมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังส่งผลดีต่อผู้ประกอบการ ในการหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดแรงงานคุณภาพ เพื่อยกระดับมาตรฐานที่ดีอย่างยั่งยืน ดังนั้น จึงมีความสำคัญในการเชิญชวนภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานกับภาคประชาสังคมเพื่อพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กและเยาวชน เพื่อส่งเสริมให้พวกเขาได้พัฒนาตนเองและสังคมต่อไป
วัตถุประสงค์ของการประชุม
เพื่อนำเสนอรูปแบบการทำงาน และแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติ และผู้ติดตาม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน
เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงาน ข้อท้าทาย และข้อเสนอแนะ ระหว่างภาคธุรกิจกับองค์กรภาคประชาสังคม
เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะจากตัวแทนเด็กและเยาวชน และตัวแทนผู้ปกครองแรงงานข้ามชาติ
เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก การคุ้มครองทางสังคม ระหว่างภาคธุรกิจกับองค์กรภาคประชาสังคม
ผู้เข้าร่วมประชุม
ภาคธุรกิจ
สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย
สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย
บริษัทอุตสาหกรรมน้ำปลาระยอง จำกัด
บริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
บริษัทยูนิคอร์ด จำกัด (มหาชน)
บริษัทอาร์เอสแคนเนอรี่ จำกัด
บริษัทซีแวลู จำกัด (มหาชน)
สภาอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตราด
สมาคมการค้าผู้นำเข้าและให้บริการแรงงานต่างด้าว
บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ
บริษัท Western Union
บริษัทซีแอลเอ็มวี สมาร์ท เวิร์คเกอร์ จำกัด
บริษัท Central Group
ตัวแทนแรงงานข้ามชาติ
ตัวแทนเด็กและเยาวชน
ตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคม
เครือข่าย NGOs เช่น มูลนิธิเครือข่ายพัฒนาบ้านเด็ก มูลนิธิรักษ์ไทย องค์กรเฟรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย AWARD
เจ้าหน้าที่ FRY 2 คน
เจ้าหน้าที่ LPN 5 คน
เจ้าหน้าที่องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย 5คน
กำหนดการ
เวลา | หัวข้อ |
9.00 – 9.15 น. | ความเป็นมา ชี้แจงวัตถุประสงค์ และแนะนำตัว |
9.15 – 10.15 น. | นำเสนอรูปแบบการทำงาน และแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติ และผู้ติดตาม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน
นำเสนอ “การสรรหาและการจ้างงานอย่างมีจริยธรรม” โดยคุณศิริลักษณ์ ยังเลิศ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
นำเสนอ “การทำงาน CSR เพื่อเด็กข้ามชาติ” โดย อาจารย์อาทร พร้อมพัฒนภัค คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
โดย นายสมัคร ทัพธานี หัวหน้าปฏิบัติการด้านการคุ้มครองสิทธิแรงงานและป้องกันการค้ามนุษย์ มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN)
ผู้อำนวยการโครงการ FAIR Fish
เจ้าหน้าที่ด้านการสื่อสารเพื่อการพัฒนาโครงการ FAIR Fish
นำเสนอ “ชุดเครื่องมือผลกระทบที่ดีทางสังคม” โดย คุณพิมพิไล รวมธรรม ผู้จัดการโครงการ มูลนิธิเครือข่ายพัฒนาบ้านเด็ก |
10.15 – 10.30 น. | ถาม-ตอบ |
10.30 – 10.45 น. | พักเบรค |
10.45 – 11.45 น. | - แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงาน ข้อท้าทาย และข้อเสนอแนะ ระหว่างภาคธุรกิจกับองค์กรภาคประชาสังคม - แนวทางความร่วมมือในการดำเนินงานด้านต่างๆ อาทิ เช่น
|
11.45 – 12.00 น. | สรุป และปิดประชุม |
กำหนดการ
ท่านสามารถเข้าร่วมได้ผ่านลิงค์ข้างล่างนี้
https://zoom.us/j/99810864625?pwd=ZlJrL0NhamFoUjFUK1ZQS3ZQcUpwUT09
Meeting ID: 998 1086 4625
Passcode: 636810
Comments